หน้าฝนแม้จะเป็นช่วงที่น้ำมาก ดูแล้วน่าจะทำให้พืชพันธุ์เจริญเติบโตได้ง่าย แต่จริงๆ แล้วสภาพเเวดล้อมที่มีฝนตกชุกแบบนี้ก็อาจจะนำพาปัญหาอย่างโรคร้ายที่ทำลายผลผลิตพืช ศัตรูพืชอย่างเช่น แมลงจำเพาะ ตลอดจนปัญหาเรื่องธาตุอาหารต่างๆ มาสู่ผักหรือผลผลิตที่คุณเพาะปลูกอยู่ได้
ดังนั้น ใครที่กำลังทำการปลูกผักหน้าฝนอยู่ละก็…ควรให้ความสำคัญกับ 3 ข้อควรระวังเหล่านี้ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตได้ก่อนจะสายเกินแก้เหล่านี้ ว่ามีเรื่องอะไรที่คุณต้องรู้ เพื่อหาวิธีการดูแลรักษาและหาทางป้องกันได้ล่วงหน้า
โรคของพืชผักที่มักมากับหน้าฝน
‘โรคพืช’ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำหรับคนที่ปลูกผักหน้าฝน เพราะถึงแม้จะเป็นฤดูกาลที่ไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำจนทำให้ผักเหี่ยวเฉาจากอากาศแล้งและร้อน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจนเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกอาจส่งผลเสียต่อผลผลิตในช่วงฤดูนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะโรคที่มากับน้ำท่วมขัง ซึ่งเรารวบรวมมาให้ ดังนี้
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
จะเป็นโรคที่ทำให้พืชลักษณะใบเป็นจุด ใบไหม้ กิ่งแห้ง รากเน่า โคนเน่า หรืออาจจะมีขุยของเชื้อราเกาะอยู่ โดยโรคที่มักมากับหน้าในส่วนใหญ่จะมีดังต่อไปนี้
- โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผักที่ปลูกในหน้าฝน โดยใบจะมีจุดละเอียดสีดำรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ใต้ใบ จุดเหล่านั้นจะมีราสีขาวอมเทาคล้ายกับผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ หากมีแผลจะค่อยๆ ลามจากใบล่างๆ ไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ทำให้ใบเสีย เติบโตช้าซึ่งโรคนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งเเต่เป็นต้นกล้า หากพบเจอควรป้องกันด้วย ราแบคเทค ที่ช่วยป้องกันรักษาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ หรือถ้าต้องการกำจัดเชื้อราให้ใช้ไตรโคเดอร์มาสลับกับชีวภัณฑ์บีเอสฉีดพ่นในระยะเป็นต้นกล้า
- โรคใบจุด เป็นโรคที่เกิดได้ทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าและต้นที่โตแล้ว โดยในต้นกล้าจะพบเป็นจุดแผลเล็กๆ ที่ใบและโคนต้น ส่วนต้นที่โตแล้วจะพบกับใบที่มีแผลวงกลมสีน้ำตาลซ้อนกันหลายชั้นต่อมาแผลขยายใหญ่ขึ้น สีจะเข้มไปจนถึงดำ มักพบบนใบและก้านของต้นโตไปจนถึงต้นแก่ได้เลยทีเดียวสำหรับวิธีป้องกันและกำจัดให้ใช้ไตรโคเดอร์มา สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน รวมถึงควรจะทำลายต้นที่ติดเชื้อให้หมด หลังจากนั้นให้ปลูกพืชแบบหมุนเวียนแทน เพื่อป้องกันโรคในระยะยาว
- โรคราสนิมขาวในผัก ผักที่ปลูกในหน้าฝนแล้วเป็นโรคนี้ มักจะมีจุดสีเหลืองซีดที่ด้านบนของใบ ใต้ใบมีตุ่มนูนสีขาวขนาดเล็กในช่วงแรก ต่อมาตุ่มนั้นจะนูนขยายใหญ่ หากมีหลายตุ่มขยายมาชนกันจะเห็นเป็นปื้นสีขาวขนาดใหญ่โป่งพองออกเป็นปุ่มปม สุดท้ายก็จะทำให้ใบบิดเบี้ยว หรือเป็นคลื่นไม่เรียบ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นไปในที่สุดหากพบเจอโรคนี้ควรรักษาและป้องกันด้วย ราแบคเทค หรือถ้าเกิดการระบาดให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วยไตรโคเดอร์มาสลับกับชีวภัณฑ์บีเอสในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- โรคเน่าคอดิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อรา Pythiumspp. โดยจะเกิดที่บริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่า ทําให้ต้นกล้าเกิดอาการเหี่ยวทั้งต้น หักล้มและตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทําลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทําให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยงหากต้องการป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เริ่มเตรียมดินให้ใช้ปูนขาว ปุ๋ยอินทรีย์และไตรโคเดอร์มาผสมเข้ากับดินที่ปลูก หรือใช้ฮิวมิค ซึ่งเป็นกรดฮิวมิคผสมเชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน ดินเหนียวระบายน้ำและอากาศได้ดี ฟื้นฟูระบบราก และช่วยกระตุ้นการแตกรากใหม่
โรคพืชที่เกิดจากแบคทีเรีย
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีลักษณะใบจุด โดยที่รอบๆ จุดจะมีวงสีเหลืองล้อมรอบ อาจจะมีอาการใบเน่าและมีกลิ่นเหม็น เช่น โรคเน่าเละของผักกาด ผักกะหล่ำ เป็นต้น หากเจอโรคลักษณะนี้ควรดูแลโดย…
1. ดูแลความสะอาดของแปลง เก็บซากเก่าของพืชทิ้ง
2. หลีกเลี่ยงการทำให้พืชมีความชื้นสูงเกินไป เช่น การปลูกเว้นระยะต้น เพื่อลดความชื้นลง
3. เมื่อพบส่วนของโรคที่สามารถตัดออกได้ให้ตัดทิ้ง
4. หากพบต้นที่เป็นโรคให้ขุดออก แล้วนำไปเผาทำลาย โรยปูนขาว บริเวณหลุมที่ขุดออก เพื่อลดการแพร่ระบาดจากเชื้อโรค
5. กำจัดโรคด้วยวิธีการทำธรรมชาติด้วยการนำเอาเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดมาทำลายเชื้อโรค หรือที่เรียกกันว่า ชีวภัณฑ์ เช่น ราแบคเทค ที่จะช่วยยับยั้งและควบคุมโรคจากเชื้อและแบคทีเรีย ซึ่งช่วยให้พืชสร้างภูมิคุ้มกัน แข็งแรง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ตามปกติ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต ใบและผลผลิตสมบูรณ์
แมลงและศัตรูพืชที่มักมากับหน้าฝน
นอกจากโรคพืชแล้วการปลูกผักหน้าฝนยังต้องดูแลเรื่องของแมลงและศัตรูพืชที่มักมากับฝนตกชุก เช่น
- เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชชนิดมีปากเจาะ สามารถทำลายพืชได้ตลอดทั้งปี และสร้างความเสียหายได้เป็นวงกว้าง โดนเกษตรกรสามารถป้องกันและกำจัดด้วยเมตาไรเซียมหรือบิวเวอเรีย สารชีวภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันกำจัดหนอนและแมลงได้หลากหลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฯลฯ
- ด้วงหนวดยาว, ด้วงแรด เพื่อป้องกันการวางไข่ และลดการเกิดตัวหนอนที่จะทำลายกิ่งให้เสียหายสามารถใช้เมตาไรเซียม ป้องกันกำจัดหนอนและแมลง เช่น ปลวก ด้วงหนวดยาว ด้วงมะพร้าว ฯลฯ
- หนอนใยผัก เป็นศัตรูพืชที่จะกัดกินใบจนเป็นรูพรุนเหลือแต่ก้านใบ หรือถ้าเกิดกับผักในระยะต้นอ่อน หนอนจะกัดทำลายส่วนยอดจนชะงักการเจริญเติบโต สามารถป้องกันและกำจัดด้วยบีที (Bacillus Thuringiensis) ซึ่งใช้กำจัดหนอนศัตรูพืชได้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อน แถมยังไม่ตกค้างในผลผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สภาพแวดล้อมและธาตุอาหารที่ต้องดูแล
ในกรณีที่แปลงปลูกพืชเกิดน้ำท่วมขังในหน้าฝน พืชจะเกิดสภาวะขาดก๊าซออกซิเจนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโจรเจน เมื่อน้ำแห้งลง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปริมาณไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยโอโซน จะช่วยดินอุ้มน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้น เป็นแหล่งธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม มีจุลินทรีย์ช่วยกำจัดโรคพืชในดินได้ดีขึ้น
รวมถึงอาจจะทำให้ผักที่ปลูกในหน้าฝนเกิดอาการขาดแคลเซียมเนื่องจากฝนตกชุก เพราะอากาศปิดทำให้พืชหยุดคายน้ำ พืชจึงไม่ได้รับแคลเซียมเข้าสู่ต้นพืชได้ ดังนั้นจึงควรเติมแคลเซียมเพิ่มเติมด้วยแคลรอน ที่ช่วยป้องกันการขาดแคลเซียมและโบรอนได้เป็นอย่างดี
สรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาระความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องระวังในช่วงหน้าฝนนี้ จะเห็นว่า เรื่องฟ้าๆ ฝนๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำการเกษตรเลยทีเดียว เพราะนอกจากโรคที่มักจะมากับน้ำและอากาศเเล้ว ยังมีเรื่องของแมลงศัตรูพืชและธาตุอาหารต่างๆ ที่เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงและดูแลเป็นพิเศษในช่วงนี้
ดังนั้น เกษตรกรหรือคนที่คิดจะปลูกผักในช่วงหน้าฝนนี้ก็ควรศึกษาข้อควรระวังไว้ด้วยจะได้พร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับผลผลิตได้ในอนาคต